เทคนิคการถ่ายภาพ 3

7. ฝึกจัดองค์ประกอบแบบง่าย ๆ
ไม่ต้องเป็นมืออาชีพก็จัดองค์ประกอบแบบง่าย ๆ ได้ โดยใช้วิธีที่ง่ายที่สุดคือ กฎ 3 ส่วน  แบ่งภาพออกเป็นตาราง โดยใช้เส้นแนวตั้งหรือนอน 3เส้น   และพยายามจัดองค์ประกอบให้อยู่ในเส้นเหล่านี้  ซึ่งพอเราใช้ทั้งเส้นแนวนอนและตั้งตีลงไปในรูป จะเกิดจุดตัดขึ้นมา เราเรียกว่าจุดตัดเก้าช่อง  เราก็พยายามจุดสำคัญของภาพอยู่ที่จุดตัดทั้ง ก็จะทำให้ภาพสวยขึ้นง่าย ๆ









8. พื้นอย่าเอียง
เวลาที่เรามองภาพเราแล้วรู้สึกแปลก ๆ ชอบกล ให้ดูก่อนเลยเป็นอันดับแรกว่าภาพตรงหรือเปล่า เพราะคนส่วนใหญ่จะไม่สนใจกันเท่าไหร่เรื่องภาพเอียง  เวลาถ่ายออกมาก็ไม่ได้ดูตรงนี้มากนัก แต่จริง ๆ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อความรู้สึกของภาพทีเดียว ฉะนั้นพยายามถ่ายออกมาให้ภาพตรง พื้นตรง จะทำให้ภาพดูดีขึ้นมามากเลยเชียว



9. ใช้ APP
แน่นอนถ้าใช้มือถือถ่าย การใช้ APP ก็เข้ามาช่วยได้อย่างง่ายดาย โดยการปรับหลาย ๆ อย่างที่เราว่ามาข้างต้น เช่น การจัดองค์ประกอบ  การแก้พื้นเอียง หรือปรับแสงสีเล็กน้อย ก็สามารถทำได้ใน APP นี่แหละ และเราขอแนะนำ SNAPSEED APP ที่ใช้งานง่ายและฟรี สามารถปรับแต่งได้ค่อนข้างหลากหลาย ควรเก็บไว้ประจำเครื่องเลย



10. เรียนรู้มือถือตัวเองให้หมดทุกด้าน

นักดาบที่ดีควรจะรู้จักดาบของตัวเองทุกซอกมุม ถ้าจะถ่ายภาพด้วยมือถือเราก็ต้องรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับมัน ไม่ว่าจะความละเอียดเท่าไหร่ ถ่ายแบบไหนได้บ้าง ซูมแล้วภาพแตกไหม ถ่ายในที่มืดดีหรือเปล่า  สิ่งเหล่านี้เป็นทั้งข้อจำกัด และตัวสร้างไอเดียใหม่ ๆ ในการถ่ายภาพได้เสมอ ฉะนั้น ศึกษาอาวุธคู่กายของเราให้ดี และอย่าลืม ทำความสะอาดเลนส์บ่อย ๆ ด้วยล่ะ เพราะบางคนถ่ายภาพออกมามัวตั้งเป็นปี แล้วนึกว่าเป็นที่กล้อง แต่ที่แท้ เลนส์มีรอยนิ้วมือนี่เอง

เทคนิคการถ่ายภาพ 2

4. หาเนื้อหาเด่นของภาพ
บางทีเราเห็นวิวที่สวยงามและยิ่งใหญ่ก็อยากจะเก็บภาพไปเสียทั้งหมด แต่พอถ่ายภาพออกมากลับดูไม่เหมือนที่เห็นด้วยตาเปล่า ภาพดูว่าง ๆ โล่ง ๆ ไม่น่าสนใจเอาเสียเลย

ฉะนั้นแทนที่เราจะถ่ายแบบจะเก็บทุกอย่าง เราก็เปลี่ยนมาหาจุดเด่นในภาพดีกว่า นอกจากจะทำให้ภาพดูน่าสนใจแล้ว ยังสามารถบ่งบอกสถานที่ที่เราไปเยือนได้ดีกว่าอีกด้วย  และถ้ากล้องมือถือมีปัญหาเรื่องการซูมเข้าไปหาเป้าหมาย เราก็ใช้วิธี CROP ภาพทีหลังก็ได้ เพราะกล้องเดี๋ยวนี้ความละเอียดค่อนข้างสูงมากทีเดียว เช่น GALAXY S6 ที่ 16  ล้าน  หรือ IPHONE6 ที่ 8 ล้าน ถึงถ่ายมาแล้ว crop ก็ยังละเอียดพอจะลงโซเชียลเนทเวิร์คได้สบาย ๆ

5. เก็บเรื่องราว
บางครั้งภาพที่ดูธรรมดา ๆ แต่พอมีคนมาเดินในภาพ กลับทำให้ภาพเกิดเรื่องราวขึ้นมาได้ ทั้งจาก การแต่งกาย ท่าทาง หรือสายตาของคนเหล่านั้น
ลองพยายามรวมคนหรือสัตว์เข้ามาในภาพดู และพยายามจัดให้คนหรือสัตว์นั้นเป็นจุดสนใจของภาพ จะทำให้ภาพน่าสนใจมากขึ้นเยอะเลย
น่าดีใจที่การเก็บภาพคนและสัตว์ด้วยมือถือนั้นดูเป็นมิตรมากกว่าการแบกกล้องใหญ่ ๆ เข้าไปถ่าย แต่กระนั้นก็ตาม การถ่ายภาพบุคคลแบบใกล้ชิดและดูจงใจก็ควรจะขออนุญาตแบบก่อนทุกครั้ง



6.มือต้องนิ่ง
ปัญหาหลักเลยที่ทำให้ภาพดูไม่น่าประทับใจคือ มือเราดันไม่นิ่ง ยิ่งบางคนไม่ถนัดกับการถ่ายด้วยมือถือเอาซะเลย เพราะมันเล็กเกินไป ฉะนั้น เราต้องมาฝึกถ่ายให้มือนิ่งกัน โดยเริ่มจากลองกลั้นหายใจตอนจะกดถ่ายดูก่อน เพราะส่วนใหญ่จะนิ่งขึ้นพอสมควร หรือหากเป็นช่วงเย็นที่แสงไม่พอ ลองหาพื้นหรือผนังที่แข็งแรง แล้วเอามือถือไปพิงแล้วค่อยถ่าย จะลดอาการสั่นได้ดีทีเดียว หรือหากถึงที่สุดจริง ๆ ให้ใช้ขาตั้งเล็ก ๆ และตั้งเวลาถ่ายเอา คราวนี้ยังไงก็นิ่งแน่นอน


เทคนิคการถ่ายภาพ 1

1. หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์และปรับโหมดเป็น HDR

สมัยนี้กล้องมือถือจะพยายามใส่ฟังชั่น HDR (High Dynamic Range) เข้ามา ซึ่ง HDR นี้ก็คือการถ่ายโดยเก็บรายละเอียดในภาพทั้งส่วนมืดและสว่างให้มีรายละเอียดครบถ้วน ฉะนั้นหากถ่ายภาพในโหมดนี้แล้ว เราก็จะแก้ปัญหาหน้ามืดเมื่อหันกล้องเข้าหาดวงอาทิตย์ได้ระดับหนึ่งทีเดียว  แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุด ให้รอช่วงที่พระอาทิตย์กำลังจะตก ช่วงนั้นแสงจะไม่รุนแรงมากนัก ทำให้เราสามารถเก็บภาพที่มีรายละเอียดแสงสีที่สวยงามได้ และยิ่งวันไหนที่ท้องฟ้าเป็นใจ เราก็จะได้ภาพท้องฟ้าสวย ๆ อย่างแน่นอน 

2. ถ่ายช่วงเวลาทอง
หลาย ๆ คนพยายามจะถ่ายภาพช่วงกลางวันที่แดดจัด ๆ และเกิดความสงสัยมาตลอดว่า ทำไมภาพที่ถ่ายออกมาดูแข็ง ๆ แสงไม่สวยเลย  ดูภาพไม่มีชีวิตชีวา

ให้ลองเปลี่ยนเวลาถ่ายรูปโดยไปถ่ายช่วงเวลาก่อนที่พระอาทิตย์จะตกดิน หรือที่คนทั่ว ๆ ไปเรียกว่าตอนเย็นนั่นแหละ  ถ้าเป็นในประเทศไทยก็คือราว ๆ 5 โมงเย็น ช่วงเวลานี้ ถ้าเป็นวันที่มีแดด แสงแดดจะนุ่มเนียนตามากกว่าเวลาอื่น ๆ และเมื่อเราถ่ายรูปออกมา ภาพจะออกโทนเหลือง ๆ แดง ๆ  คอนทราสของภาพก็จะสวยงามลงตัว   เราเรียกเวลาช่วงนี้ว่า เวลาทอง Golden moment

3. ถ่ายช่วงทไวไลท์
ทไวไลท์คืออะไร ? มันคือช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตก หรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้นซักพักนึง ถ้าเป็นในประเทศไทย ก็อยู่ที่ราว 15-20 นาทีหลังจากพระอาทิตย์ตกนั่นเอง
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาเราดูรูปของช่างภาพอาชีพหลายคน ท้องฟ้าในรูปมันเป็นสีฟ้า น้ำเงินสดใส แต่รูปของเราท้องฟ้ากลับดำมืด ทั้ง ๆ ที่เป็นกลางคืนเหมือนกัน  คำตอบคือ เพราะเขาถ่ายในช่วงทไวไลท์นี่แหละ
ในช่วงเวลาดังกล่าว สมดุลระหว่างแสงบนท้องฟ้าและแสงไฟในเมืองจะพอดี ทำให้เป็นช่วงที่ถ่ายได้สีสันสวยงามมากที่สุดของวัน ซึ่งช่วงดีที่สุดของทไวไลท์นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสว่างของเมืองนั้น ๆ ด้วย
ฉะนั้นถ้าอยากถ่ายไฟเมืองแบบสวย ๆ ลองรอหลังพระอาทิตย์ตกดู พอเมืองเริ่มเปิดไฟก็ลองถ่ายดูเลย รับรองว่าได้ภาพน่าประทับใจแน่นอน โดยเฉพาะมือถือรุ่นใหม่ ๆ ก็มักจะถ่ายในที่มืดได้ดีขึ้นมากด้วย เช่น GALAXY S6


ขั้นตอนในการทำหนังสั้น

ขั้นตอนในการทำหนังสั้น : การทำหนังสั้น หรือ ภาพยนตร์สั้น มีขั้นตอนดังนี้ 

ขั้นที่ หาองค์ประกอบด้านวิธีการ คือ หลักการ การวางแผน การถ่ายทำ การตัดต่อ การประเมินผล
ขึ้นที่ หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ บุคลากรในหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ ตัวละคร บุคคลทางเทคนิค รวมไปถึง ผู้มีความสามารถเฉพาะ ที่สำคัญมาก คือ ทีมงาน ที่เข้าขากันได้
ขั้นที่ เตรียมการผลิต คือ วางแผน เตรียมสถานที่ บท อุปกรณ์ ให้ครบ
ขั้นที่ บทหนัง คือ วางบท คำพูด ระยะเวลาสถานที่ เรื่องราว ที่จะสื่อออกมา ซึ่งอาจเป็นบทแบบสมบูรณ์ (เก็บทุกรายละเอียดทุกคำพูด) หรือ บทแบบอย่างย่อ (เปิดกว้างๆให้ผู้ชมสังเกตในความเข้าใจของตนเอง)
ขั้นที่ การผลิต อย่างแรกเลย แต่ละฉากคุณต้องเลือกมุมกล้องให้เหมาะสม กับสภาพอากาศ ขนาดวัตถุ ว่าควรเห็นแค่ไหน ขนาดมุมกล้องมีหลายแบบนะเยอะมาก ผมพูดรวมๆละกัน มีแบบ ระยะไกลมาก ระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้
ขั้นที่ ค้นหามุมกล้อง
มุมคนดู ประมาณว่า เป็นมุมถ่ายจากรอบนอกของฉากนั้นๆครับ เหมือนผู้ชมเป็นคนสังเกตฉากนั้นๆ
มุมแทนสายตา
มุมพ้อยออฟวิว มุมนี้แนะนำให้ใช้เยอะๆครับ สวยมากมุมนี้ในการทำหนัง เป็นมุมที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ครับ เช่น การถ่ายข้ามไหล่ของตัวละคร หรือวัตถุ
ขั้นที่ การเคลื่อนไหวของกล้อง
การแพน การทิลท์ ประมาณว่า การทำเคลื่อนไหวกล้องให้เห็นตำแหน่งวัตถุนั้นสัมพันกัน
การดอลลี่ การติดตามการเคลื่อนไหว
การซูม เป็นการเปลี่ยนองค์ประกอบภาพ เหมือนเน้นความสนใจในจุดๆหนึ่ง
ขั้นที่ เทคนิคการถ่ายทำ
เอาเป็นว่าจับกล้องให้มั่น อย่างผมก็จะจับแบบกระชับกับตัวเลย คือ แขนทั้งสองข้างแนบตัวเลยครับ และก็ไม่แนะนำให้เคลื่อนไหวกล้องแบบรวดเร็วนะครับ กล้องจะปรับโฟกัสไม่ทัน ทำให้ภาพเบลอ (หรืออาจมีขาตั้งกล้อง แล้วใช้แพนกล้องเพื่อเปลี่ยนทิศทางภาพ)
ขั้นที่ หลังการผลิต ก็ต้องตัดต่อ เพิ่มเสียง เอ็ฟเฟก ความคมชัด ความเด่นชัดเรื่อง อักษรหนังสือ
ขั้นที่ 10 การตัดต่อ
จัดลำดับภาพ และเวลาให้ตรงและเหมาะสม อันไหนเกินยาวก็ให้ตัดทิ้งครับอย่าให้ขัดอารมณ์
จัดภาพให้เหมาะสม เนื้อหาและโครงเรื่องที่เราวางไว้
แก้ไขข้อบกพร่อง
เพิ่มเทคนิคให้ดูสวยงาม และดนตรีประกอบให้น่าฟัง

เทคนิคที่ใช้ในการตัดต่อเชื่อมระหว่างฉาก ใช้เทคนิค ดังนี้
การตัด cut
การเฟด fade
การทำภาพจางซ้อน
การกวาดภาพ
ซ้อนภาพ

โปรแกรมที่จะนำมาใช้ในการตัดต่อหนังสั้น สำหรับหนังสั้น ประเภทสารคดีกึ่งละคร เรื่อง รอยขอม ของนักเรียนโรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา ทีม นครชัยบุรินทร์  โปรแกรมตัดต่อหนังสั้น ที่ใช้คือ โปรแกรม Sony vegas 7.0 ครับ


ทีมงานหนังสั้น

ทีมงานหนังสั้นมีกี่ตำแหน่ง อะไรบ้าง และมีหน้าที่อย่างไร
มีทั้งหมด 6 ตำแหน่ง

1 ผู้กำกับ คนนี้สำคัญที่สุด กำกับคือผู้ที่กำหนดทิศทางของหนังให้เป็นไปตามใจที่เขาหรือเธอผู้นั้นต้องการ
โดยสิ่งหนึ่งที่ผู้กำกับแต่ล่ะคนจำเป็นจะต้องมี ขาดไปไม่ได้เป็นอันขาด นั่นคือสมาธิจิตจดจ่ออยู่กับงานที่ทำอยู่ตรงหน้า งานที่ว่านั้นก็หมายถึง คอยควบคุมนักแสดง กำกับให้เขาแสดงได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นไปตามบทบาทที่เราได้สร้างขึ้น และยังรวมไปถึงงานอื่นๆ เช่น การดูว่าตากล้องสามารถถ่ายภาพวางมุมกล้องออกมาได้อย่างที่เคยมีการตกลงกัน ก่อนหน้านี้ไหม หรือว่าเสียงโอเคหรือเปล่า ตัวละครมีบทพูดตรงตามที่เขียนไว้ไหม?

2 ผู้ช่วยผู้กำกับ มีหน้าที่เป็น แขนขา ของผู้กำกับ เพราะในขณะที่ผู้กำกับกำลังคิดถึงงานที่อยู่ตรงหน้า ผู้ช่วยฯก็จะมาคิดถึงการทำให้งานมันเดินหน้าไปได้ หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือการลดภาระของผู้กำกับลงไป

3 ผู้จัดการกองถ่าย หลักๆ คือดูแลเรื่องการเงิน ว่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่ แล้วคอยให้คำแนะนำ แก่ทีมงานว่า ควรจะใช้งบเท่าไหร่เพื่อการซื้อหรือทำอะไรสักอย่าง ว่าง่ายๆ ก็คือหน้าที่ควบคุมให้ระบบการเงินในกองถ่ายราบรื่น เป็นไปด้วยความเหมาะสมตามงบที่มีอยู่ หน้าที่นี้จำเป็นจะต้องอาศัยผู้มีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน และมีสายตาที่ปราดเปรียวว่องไว เมื่อเห็นอะไรที่ผิดปรกติ

4 ตากล้อง/ผู้กำกับภาพ ไม่ใช่แค่เอากล้องมาวางแล้วก็ถ่ายอย่างเดียว แต่จะต้องตีความตามบทหนังที่อ่าน และถ้ามีสตอรี่บอร์ดก็ต้องถ่ายตามนั้น โดยที่จะต้องช่วยเหลือด้านเทคนิคเพื่อให้ได้ภาพอย่างที่ผู้กำกับต้องการ

5 คนบันทึกเสียง สำคัญไม่น้อยกว่าภาพเลย เพราะถ้าเสียงไม่ดีฟังที่ตัวละครพูดไม่รู้เรื่องนี้จบกัน คนบันทึกเสียงไม่ได้แค่ทำหน้าที่บันทึกเสียงอย่างเดียว แต่ยังต้องคอยช่วยผู้กำกับดูว่า ก่อนถ่ายเมื่อไปดูโลเคชั่น ก็จะบอกได้ว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับการอัดเสียงเพื่อที่จะแก้ไขได้ หรือระหว่างถ่าย ก็คอยดูว่าช่วงไหนอัดเสียงได้ไม่ได้ เพื่อที่จะสามารถทำให้ได้เนื้อเสียงที่มีคุณภาพ

6 ผู้กำกับศิลป์ มีหน้าที่ช่วยให้งานฉากและอุปกรณ์ประกอบฉากได้ดังภาพที่ ผู้กำกับคิดไว้ ไม่ใช่แค่เอาของมาวางๆ จัดฉากเท่านั้น แต่เช่นเดียวกับตากล้อง ก็จะต้องมีดวงตาที่เห็นเหมือนผู้กำกับเช่



17 สัญญาณอันตราย ถึงเวลาต้องวางสมาร์ทโฟนเสียที


ข้อดี-ข้อเสียการใช้โทรศัพท์สมารทโฟน

การใช้โทรศัพท์มือถือ หรือที่เรียกกันติดปากว่า  “มือถือ

ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่เรียกได้ว่าเป็นที่นิยมแพร่หลาย และเข้าถึงได้ง่ายในโลกปัจจุบัน ก็มีประเด็นให้ถกเถียงกันในแง่ปัญหาสุขภาพอยู่ไม่น้อย เนื่องด้วยลักษณะการใช้งานของโทรศัพท์มือถือที่ต้องสัมผัสแนบศีรษะและหู เพื่อให้ได้ยินเสียง และพูดผ่านไมโครโฟนภายในเครื่อง เมื่อสนทนาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผู้ใช้จะรู้สึกได้ถึงความร้อนที่เกิดขึ้น รวมถึงหลักการของสัญญาณคลื่นไมโครเวฟที่นำมาใช้กับโทรศัพท์มือถือ ก็ได้ก่อให้เกิดความกังวลเรื่องความร้อนและพลังงานรังสี การใช้งานโทรศัพท์มือถือในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา เพื่อติดต่อสื่อสารพูดคุยโดยทั่วไป แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมากมายถูกนำมารวมไว้ในโทรศัพท์มือถือ เพื่อความสะดวกและประโยชน์ใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ การถ่ายภาพ การจัดเอกสารข้อมูล รวมไปถึงการดูโทรทัศน์ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมต่าง ๆ เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้งานต้องมองหน้าจอมือถือมากขึ้นและเป็นที่น่าสนใจของวัยรุ่นมากขึ้นโดยมีการสุ่มการทำแบบประเมินการเปรียบเทียบระหว่างนักเรียน-นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ดังนี้

จะเห็นได้ว่า วัยรุ่น(นักเรียน-นักศึกษา)มีการใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่าผู้ใหญ่(บุคคลทั่วไป) วันนี้เราก็เลยเอาข้อดี-ข้อเสีย ของโทรศัพท์มือถือและการใช้โทรศัพท์มือถือมาฝากค่ะ
ข้อดี
1.ใช้สื่อสารทางไกลได้

2.สามารถ ถ่ายภาพ ติดตามข่าวสาร ท่องอินเตอร์เน็ตได้สะดวกรวดเร็ว

3.ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น บางทีอาจสามารถใช้แทนคอมพิวเตอร์ได้เลย

4.พกพาสะดวก

5.สามารถขอความช่วยเหลือได้ทันทีหากเกิดเหตุด่วน

6.ช่วยเตือนความจำได้

ข้อเสีย
1.ทำให้เสียอารมณ์ หากโทรศัพท์มือถือดังในช่วงที่คุณต้องการความสงบ มีสมาธิ หรือเวลาอะไรก็ตามที่คุณมีความสุข

2.อาจทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เช่น ได้ยินเสียงโทรเข้ามาซ้ำๆ

3.ทำให้เกิดอาชญากรรมอันถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าหากโทรศัพท์ของคุณเป็นที่ต้องการของโจร

4.ทำให้อารมณ์ร้อนของคุณ มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะคุณจะใช้การโทรศัพท์ในการเผยแพร่ มากว่าจะอยู่กับตัวเองทบทวนปัญหา

5. ทำให้เป็นภาระทางการเงิน  (เห้ออออไม่มีตังค์ T^T)

6.ทำให้สมองของคุณฟ่อลง คุณจะพึ่งพาความจำของเครื่องโทรศัพท์แทน

7.เป็นภาระ เช่นกลัวว่าจะหาย  กลัวจะลืม ฯลฯ

8.อาจติดโทรศัพท์มือถือจนไม่ทำอย่างอื่นเลย

9.อาจโดนล่อลวงจากคนที่รู้จักกันใน social network ได้ง่าย

ตัวอย่างหนังสั้น


ตัวอย่างหนังสั้น





     หนังสั้นม.รังสิต " Postcard " (โดย สายป่าน อภิญญา สกุลเจริญสุข)



หนังสั้น "Earthquake อยากบอกว่ารัก...เบาๆ" (Official) [HD] by Bus Production


หนังสั้น : ส่งเธอที่ลาดพร้าว 18 แยก 7 (OFFICIAL)



หนังสั้น BU : รักจริงใจของนายจำเสื่อม





หลักการเขียนสตอรี่บอร์ด

หลักการเขียนสตอรี่บอร์ด

          รูปแบบของสตอรี่บอร์ด จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนภาพกับส่วนเสียง โดยปกติการเขียนสตอรี่บอร์ด ก็จะวาดภาพในกรอบสี่เหลี่ยม ต่อด้วยการเขียนบทบรรยายภาพหรือบทการสนทนา และส่วนสุดท้ายคือการใส่เสียงซึ่งอาจจะประกอบด้วยเสียงสนทนา เสียงบรรเลง และเสียงประกอบต่างๆ

สิ่งสำคัญที่อยู่ภายในสตอรี่บอร์ด ประกอบด้วย
- ตัวละครหรือฉาก ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่หรือตัวการ์ตูน และที่สำคัญ คือ พวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร
- มุมกล้อง ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพและการเคลื่อนกล้อง
- เสียงการพูดกันระหว่างตัวละคร  มีเสียงประกอบหรือเสียงดนตรีอย่างไร

ข้อดีของการทำ Story Board
1. ช่วยให้เนื้อเรื่องลื่นไหล เพราะได้อ่านทวนตั้งแต่ต้นจนจบก่อนจะลงมือวาดจริง
2. ช่วยให้เนื้อเรื่องไม่ออกทะเล เพราะมีแผนการวาดกำกับไว้หมดแล้ว
3. ช่วยกะปริมาณบทพูดให้พอดีและเหมาะสมกับหน้ากระดาษและบอลลูนนั้น ๆ
4. ช่วยให้สามารถวาดจบได้ในจำนวนหน้าที่กำหนด (สำคัญสุด!)

ขั้นตอนการทำ Story Board
1.วางโครงเรื่องหลัก ไม่ว่าจะเป็น Theme, ตัวละครหลัก, ฉาก ฯลฯ
    1.1  แนวเรื่อง
    1.2  ฉาก
    1.3  เนื้อเรื่องย่อ
    1.4  Theme/แก่น (ข้อคิด/สิ่งที่ต้องการจะสื่อ)
    1.5  ตัวละคร  สิ่งสำคัญคือกำหนดรูปลักษณ์ของตัวละครแต่ละตัวให้โดดเด่นไม่คล้ายกันจนเกิน ไป ควรออกแบบรูปลักษณ์ของตัวละครให้โดดเด่นแตกต่างกัน และมองแล้วสามารถสื่อถึงลักษณะนิสัยของตัวละครได้ทันที
 2.  ลำดับเหตุการณ์คร่าว ๆ
จุดสำคัญคือ ทุกเหตุการณ์จะเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน เหตุการณ์ก่อนหน้าจะทำให้เหตุการณ์ต่อมามีน้ำหนักมากขึ้น และต้องหา จุด Climax ของเรื่องให้ได้ จุดนี้จะเป็นจุดที่น่าตื่นเต้นที่สุดก่อนที่จะเฉลยปมทุกอย่างในเรื่อง การสร้างปมให้ผู้อ่านสงสัยก็เป็นจุดสำคัญในการสร้างเรื่อง ปมจะทำให้ผู้อ่านเกิดคำถามในใจและคาดเดาเนื้อเรื่องรวมถึงตอนจบไปต่าง ๆ นานา
3. กำหนดหน้า
4. แต่งบท
            เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนลงมือวาดสตอรี่บอร์ด ควรเขียนบทพูดและบทความคิดที่จะใช้เขียนลงในหนังออกมาโดยละเอียดเพื่อที่จะได้กำหนดขนาดของบอลลูนและจัดวางลงบนหน้ากระดาษได้อย่าเหมาะสม
5. ลงมือเขียน Story Board


การเขียนบทหนังสั้น

หนังสั้น 
คือ หนังยาวที่สั้น ก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้น ๆ แต่ได้ใจความ ศิลปะการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่มีรากฐานแบบเดียวกัน นั่นคือ การเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นของมนุษย์หรือสัตว์ หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่ใดที่หนึ่งเสมอฉะนั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา

สิ่งที่สำคัญในการเขียนบทหนังสั้นก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจให้ได้ ว่าเราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ตัวละคร แนวความคิด และเหตุการณ์ และควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นส่วนใหญ่ มักจะทำเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่ก็ไกลเกินไปจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้
          เมื่อเราได้เรื่องที่จะเขียนแล้วเราก็ต้องนำเรื่องราวที่ได้มาเขียน Plot (โครงเรื่อง) ว่าใคร ทำอะไร กับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล หรือวัตถุดิบที่เรามีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่ามีแนวคิดมุมมองต่อชีวิตคนอย่างไร เพราะความเข้าใจในมนุษย์ ยิ่งเราเข้าใจมากเท่าไร เราก็ยิ่งทำหนังได้ลึกมากขึ้นเท่านั้น

          และเมื่อเราได้เรื่อง ได้โครงเรื่องมาเรียบร้อยแล้ว เราก็นำมาเป็นรายละเอียดของฉาก ว่ามีกี่ฉากในแต่ละฉากมีรายละเอียดอะไรบ้าง เช่นมีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ไปเรื่อย ๆ จนจบเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนการเขียนบทไม่ได้มีอะไรยุ่งยากมากมาย เพราะมีการกำหนดเป็นแบบแผนไว้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยาก มาก ๆ ก็คือกระบวนการคิด ว่าคิดอย่างไรให้ลึกซึ้ง คิดอย่างไรให้สมเหตุสมผล ซึ่งวิธีคิดเหล่านี้ไม่มีใครสอนกันได้ทุกคน ต้องค้นหาวิธีลองผิดลองถูก จนกระทั่ง ค้นพบวิธีคิดของตัวเอง